วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

เริ่มต้นปีใหม่เเล้ว มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายเตรียมตัวยื่นแบบภาษีกันได้แล้ว โดยปีนี้กรมสรรพากร เปิดให้ผู้ที่มีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกประเภท ที่ได้มาระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2556 ต้องยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ช้าสุดไม่เกิน 31 มีนาคม 2557 หากยื่นเกินเวลาที่กำหนดไว้จะถูกปรับ ซึ่งวันนี้เราขอนำข้อมูลการยื่นภาษีมาฝากกัน

ซึ่งในปีนี้ กรมสรรพากรมีการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ (คลิก โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใหม่ เริ่มใช้ ปี 2557 ) ซึ่งมีผลดีคือทำให้เสียภาษีน้อยลง

สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปยื่นแบบภาษี ณ สำนักงานสรรพากรเขต หรือสำนักงานสรรพากรอำเภอ สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90, 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th

2. เลือกรายการบริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต

3. เลือกรายการบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 แล้วแต่กรณี

4. ถ้าเข้าสู่การใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการลงทะเบียนก่อน เมื่อได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดง หมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่านบนหน้าจอ

5. เข้าระบบโดยบันทึก หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน

6. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ แล้ว คลิก "ตกลง" เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ

7. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ "คำนวณภาษีแล้ว"

7.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ

(1) โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ

(2) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้

7.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ

(1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น

(2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร (1) ระบบจะแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัส ควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารต่อไป เพื่อความสะดวกและถูกต้อง โปรดสั่งพิมพ์หรือจดข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย

(3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post ) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก

ขั้นตอนการชำระภาษี

เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์

1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ

(1) ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว

(2) เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี

(3) ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร

(4) เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้

(5) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว

1.2 การชำระวิธีอื่น

(1) เลือกบริการชำระภาษี

(2) ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต

(3) หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี

(4) กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว
หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น

2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว

เงื่อนไขการใช้บริการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91

1. เป็นบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเดียวเป็นบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป

2. เป็นผู้มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและมีเลขประจำตัวประชาชน (กรณีมีสัญชาติไทย)

3. เป็นแบบฯ ที่ไม่ได้ขอคืนภาษี

4. เป็นการยื่นแบบฯ และชำระภาษีตลอด 24 ชม.ของทุกวันเว้นแต่วันที่ 31 มีนาคม 2546 จะปิดการให้บริการเวลา 22.00 น.

5. เป็นการยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาและชำระภาษีทั้งจำนวนในคราวเดียวเท่านั้น

6. กรณีชำระผ่าน ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรกัน

7. กรณีชำระภาษีผ่าน e-payment จะต้องทำความตกลงกับธนาคารก่อน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น